พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
 ด้วยเหตุที่ปัจจุบันมียาเสพติดหลายประเภท ได้แพร่ระบาดเข้ามาในประเทศไทย มีทั้งประเภทที่ผลิตไว้เองในประเทศ และที่ลักลอบเข้ามาตามชายแดน จึงจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายกำหนดประเภทของยาเสพติดให้ครอบคลุม เพื่อที่อำนาจแก่ เจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินการตามกฎหมายกับผู้กระทำความผิด ตามกฎหมายฉบับนี้ได้ควบคุมการใช้ยาเสพติดให้โทษ โดยกำหนดความผิดและโทษสำหรับยาเสพให้โทษประเภทต่าง ๆ และใหคำจำกัดความว่า ยาเสพติดให้โทษ หมายถึง
ยาเสพติดให้โทษ หมายความถึง
1. สารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ ในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพเรื่อยๆ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการเสพ ทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลาและสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง
2. พืชหรือส่วนของพืช ที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ
3. สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษ
ประเภทและชื่อยาเสพติดให้โทษ
ประเภท1ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง ไม่เป็นประโยชน์ทางการแพทย์ เช่น เฮโรอีน (HEROIN), แอมเฟตามีน (AMPHETAMINE), เมทแอมเฟตามีน (METHAMPHETAMINE), แอลเอสดี (LSD), เอคส์ตาซี (ECSTASY) หรือ MDMA เป็นต้น
ประเภท2ยาเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น ฝิ่น (OPIUM), มอร์ฟีน (MORPHINE), โคคาอีนหรือโคเคน (COCAINE), โคเดอีน (CODEINE), เมทาโดน (METHADONE) เป็นต้น
ประเภท3ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นต้นตำรับยาและมียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ผสมอยู่ด้วย เช่น COSOME, ILVICO SYRUP, ยาแก้ไอโคดิล (CODYL COUGH LINCTUS)
ประเภท4สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดในโทษประเภท 1 หรือประเภท 2 ได้แก่ อาเซติคแอนไฮไดรด์ (ACETICANHYDRIDE), อาเซติลคลอไรด์ (ACETYL CHLORIDE), เอทิลิดีนไดอาเซเตด (ETHYLIDINEDIACETATE), ไลเซอร์จิค อาซิค (LYSERGIC ACID)
ประเภท5ยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้ามาอยู่ในประเภท 1 ถึงประเภท 4 ได้แก่ กัญชา พืชกระท่อม พืชฝิ่น (ซึ่งหมายความรวมถึงพันธุ์ฝิ่น เมล็ดฝิ่น กล้าฝิ่น ฟางฝิ่น) และพืชเห็ดขี้ควาย

 

 

 

 

 

 

" ยาเสพติดเป็นผลร้ายอาจตายเพราะยาเสพติด"