พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519
ด้วยเหตุที่ประเทศไทย กำลังประสบปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด ซึ่งนับวันจะขยายวง จากกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ผู้ประกอบอาชีพบางประเภทและลุกลามไปสู่นักเรียน นักศึกษา รัฐบาลไทยจึงจำเป็นต้องควบคุมดูแลการป้องกัน และปราบปรามอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีเอกภาพ จึงได้มีกฎหมายจัดตั้งองค์กรกลาง ในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ซึ่งเรียกว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ( ป.ป.ส. NCB ) ซึ่งประกอบด้วย
- นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการ
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กรรมการ
- อธิบดีกรมตำรวจ กรรมการ
- อธิบดีกรมศุลกากร กรรมการ
- อัยการสูงสุด กรรมการ
- กรรมการอื่นซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง ไม่เกินหกคน
- เลขาธิการ กรรมการและเลขานุการ
คณะกรรมการดังกล่าวมีอำนาจและหน้าที่ดังนี้
1.กำหนดแผนงานและมาตรการป้องกันและปราบปรามผู้กระทำความผิด เกี่ยวกับกฎหมายยาเสพติด
2. ควบคุมการสืบสวน สอบสวน และการฟ้องคดีความผิดกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด
3. งานโครงการและดำเนินการ ตลอดจนสั่งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการเผยแพร่ความรู้
4. ควบคุมเร่งรัด ประสานงาน การปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการที่มีอำนาจหน้าที่ใน การปฏิบัติการตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด
5. เสนอความคิดเห็นต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อให้มีการปรับปรุงการปฏิบัติราชการ หรือแผนงาน หรือโครงการของส่วนราชการที่มีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติการตามกฎหมาย เกี่ยวกับยาเสพติด
6. ประสานงานและกำกับการเกี่ยวกับการบำบัดรักษาตัวผู้ติดยาเสพติด
7. พิจารณาอนุมัติการแต่งตั้งเจ้าพนักงานเพื่อปฏิบัติการตามกฎหมายนี้
" ยาเสพติดเป็นผลร้ายอาจตายเพราะยาเสพติด"